วิธีการพิจารณาและเลือกซื้อ บริการโฮสติ้ง

สวัสดีครับสมาชิก และผู้อ่าน

วันนี้ผมว่าจะหาชื่อโดเมนจดเล่นสักชื่อ โอโห ชั่งหาชื่อที่ถูกใจ และว่างอยู่แสนยากเหลือเกิน โดยเฉพาะ .com ชักเซงกิ่วในอารมณ์ เลยว่าเดี่ยวค่อยคิดใหม่ จึงนึกถึงสมัยเราจัดทำเว็บไซต์และหาบริการเช่าโฮสติ้งเพื่อรับฝากเว็บไซต์ ดีดีสักที่ เลยนำมาสู่การเขียนบทความฉบับย่อฉบับนี้ให้อ่านกันครับ

การที่เราจะหาเช่นโฮสสักที่ ใช่ว่าต้องแพง แต่มีคุณภาพเยี่ยมเหมือนแต่ก่อนเสมอไปแล้วครับ เราสามารถเลือกเลือกใช้บริการ โฮสติ้งได้ไม่ยาก ในจากหลากหลายผู้ให้บริการ ปัจจุบันเอง จะเห็นได้ว่าโฮสติ้ง หรือ hosting หรือ โฮส หรือ Host หรือ บริการพื้นที่รับฝากเว็บไซต์ นั้นโอว เรียกได้หลากหลายกันไปครับ มีผู้ให้บริการต่างๆ เกิดขึ้นในแทบจะทุกวัน มีให้เราเลือกใช้บริการ อยู่เป็นจำนวนมากครับ

การเลือกใช้บริการโฮสติ้งที่ใดสักที่นั้นควรดูปัจจัย พื้นฐานเหล่านี้เป็นอับดับแรกๆ

1. เว็บไซต์ของเราต้องการปริมาณการใช้งานมากน้อยแค่ไหน


เช่น Disk(พื้นที่) / Bandwidth (ปริมาณรับส่งข้อมูล) / จำนวนฟิวเจอร์ต่างๆ เช่น จำนวนอีเมล์ จำนวนฐานข้อมูลที่ใช้ได้ ควรเลือกซื้อในแพลนการใช้งานที่เหมาะสมกับเว็บเรา สอบถามถึงนโยบายการอับเกรดแพลนที่เลือกใช้บริการ เมื่อเว็บของเราต้องการใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น โดยในแต่ละที่มีนโยบายการอับเกรดแพลนที่แตกต่างกันไปครับ บางที่เราชำระเพิ่มเพียง ส่วนต่างของแพลนที่ใช้บริการ กับแพลนที่ต้องอับเกรด เป็นต้น.

2. เว็บไซต์ของเราเขียนด้วยภาษาใด เช่น html php asp jsp เลือกโฮสติ้งให้เหมาะสมต่อการใช้งานครับ


เนื่องจากในแต่ละภาษาที่ใช้งานนั้นจะสามารถทำงานได้ในระบบที่ต่างกัน เช่นหากเราต้องการเขียนเว็บด้วยภาษา ASP เราก็ต้องเลือกผู้ให้บริการที่เป็น windows Server แต่หากเราเขียนเว็บไซต์ด้วย php ใช้ฐานข้อมูล mysql หรือ html ธรรมดา เราก็เลือกใช้บริการระบบที่เป็น linux ก็เพียงพอครับ ซึ่งในหลายผู้ให้บริการ จะมีราคาบริการทั้งสองระบบที่แตกต่างกัน ในขณะที่ปริมาณการใช้ง่านเท่าๆ กัน

3. แถมฟรีโดเมน หรือ เราเสียค่าจดโดเมนเอง


หลายๆ ผู้ให้บริการโฮสติ้งนั้น มีให้บริการโฮสติ้งแถมฟรีโดเมนต้องดูนโยบายในการให้บริการ และข้อมูลบริการดีดีนะครับ บางผู้ให้บริการกันแถมฟรีโดเมนเฉพาะปีแรก เท่านั้น แต่บางผู้ให้บริการ ก็แถมฟรีโดเมนเนมตลอดอายุบริการเช่นกัน (ส่วนใหญ่จะแถม .com .net .org .info) กันครับ
ในทางกลับกันบางผู้ให้บริการ จะคิดค่าบริการเช่นพื้นที่ต่างหาก ทางเจ้าของเว็บไซต์ ต้องจ่ายค่าจดโดเมนเนมเอง หรือ อาจจ่ายในราคาถูกพิเศษ กว่าราคาจดโดเมนปกติครับ
อีกส่วนนึงคือ การเป็นเจ้าของโดเมน ซึ่งไม่ดูไม่ได้แล้ว ในหลายผู้ให้บริการจดโดเมนให้เราฟรีก็จริง แต่ชื่อการเป็นเจ้าของไม่ใช่ ของเรา ในกรณีเราต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการ เราอาจโดนคิดอัตราชาร์ตเพิ่มเติมในราคาที่สูงได้ ลองดูจากนโยบายผู้ให้บริการดีดีครับ

4. ฟิวเจอร์ และระบบ ที่เราควรเลือกใช้


- ผู้ให้บริการในปัจจุบัน มักจะมีระบบจัดการเว็บไซต์ (Web Control Panal) มาให้ลูกค้าของตนใช้งานกัน เพื่ออำนวยความสะดวก สบายในการเข้าจัดการ บริหาร โดเมนของตัวเอง ระบบจัดการเว็บไซต์มีด้วยกันหลายๆ ตัวครับเช่น Directadmin CPanel Ensim iAdmin Plesk ส่วนใหญ่จะใช้งานได้ไม่ยากครับ และในหลายๆ ที่ยังทีการจัดทำคู่มือแนะนำการใช้งานไว้ลูกค้าของเขาศึกษาอีกด้วยครับ
- ผู้ให้บริการ บางที่มีการเปิดให้ลูกค้าของเขาสามารถอับโหลดไฟล์ ขึ้นเซิร์ฟเวอร์ สองทางครับคือ FTP ด้วยโปรแกรมหรือ ผ่าน File Manager อับโหลดผ่านเว็บนั้นเอง
- มีรับบป้องกันอีเมล์ขยะ Spam Email หรือป้องกันไวรัสจากจดหมายขยะหรือไม่
- ระบบตรวจสอบอีเมล์ควรตรวจสอบได้มั้ง Webmail และ Pop3 (เช่น โปรแกรม Outlook)
- ควรมีระบบตรวจสอบสถิติการใช้งาน (Site Summary / Statistics / Logs)
- ควรสามารถสร้างโดเมนย่อย (Subdomain) ได้เช่น http://sub.domain.com
- มีระบบจัดการฐานข้อมูลให้เราหรือไม่ (PHPmyadmin)
- มีระบบสำรองข้อมูล (Backup/Restore)
นี่คือส่วนหลักๆ ที่ผู้ให้บริการควรจะมีให้เราใช้งาน ข้อมูลในส่วนนี้ผู้อ่านสามารถเปิดดู(เปรียบเทียบ แพลน) หรือสอบถามจากผู้ให้บริการต่างๆ ได้ครับ

5. ด้านปริมาณการใช้งานอื่นๆ


ในหลายผู้ให้บริการโฮสติ้ง มีการกำหนดปริมาณการใช้งานในส่วนต่างๆ แตกต่างกันไป บ้างก็ unlimited เคยสงสัยกันไหมครับ ปริมาณในส่วนนี้บางผู้ให้บริการทำไมถึงให้ unlimited ได้ ก็เพราะว่าการใช้งานจริงๆ ใช้จำนวนหน่วยไม่มากครับ
ปริมาณที่เราควรดู นอกเหนือจาก disk และ bandwidth แล้วก็คือ
- จำนวนฐานข้อมูล (Database) คือจำนวนฐานข้อมูล mysql ที่เราสร้างใช้งานได้
- จำนวน Subdomain คือจำนวนโดเมนย่อยที่เราสร้างใช้งานได้
- จำนวนอีเมล์ (Email Account) คือจำนวนอีเมล์ภายใต้โดเมนของเราที่สร้างใช้ได้

6. ลองดูจำนวนลูกค้า ความสำคัญ รายชื่อที่ใช้บริการ เป็นส่วนหนึ่งเล็กๆ ในการเลือกใช้บริการ


ในหลายผู้ให้บริการทั้งเล็ก และใหญ่มักมีการแสดงชื่อเว็บไซต์ที่ได้เลือกใช้บริการอยู่ ซึ่งเราจะสามารถใช้ส่วนนี้พิจารณา เลือกซื้อบริการจากผู้ให้บริการนั้นๆ ได้ แต่ไม่ควรนำมาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการนะครับ เพราะลองมองเล่นๆ ว่าลูกค้าเขา เช่นบริษัท ห้างร้าน ที่มาใช้บริการก็ไม่ต้องการให้เว็บไซต์เขาล่มเป็นประจำ หากเป็นเช่นนั้นเขาคงไม่เลือกใช้บริการที่ๆ เราพิจารณาอยู่เป็นแต่

7. ด้านการ Support ดูแล


เราจะทราบได้อย่างไรว่าผู้ให้บริการแต่ละที่เอาใจใส่ในบริการจริงๆ บางที่บอก 24 ชม. แต่เมื่อเกิดปัญหาแล้วติดต่อยากเหลือเกิน ฉนั้นก่อนที่เราจะตัดสินใจใช้บริการ เราควรลองโทรศัพท์ หรืออีเมล์ ไปลองสอบถามปัญหา หรือข้อมูลดูครับ ส่วนนึงลองสังเกตุในความรวดเร็วในการตอบ และรับโทรศัพท์ ของเราในเบื้องต้น หากโทรแล้วไม่มีคนรับสาย ดูว่าเขามีการติดต่อกลับมาอย่างใน ได้ครับ การใช้บริการเราจะรู้เห็นแจ้งก็ตอนที่เราได้เลือกใช้บริการกับเขาแล้ว การเข้าช่วยแก้ไขปัญหา การดูแลเอาใจใส่ระบบให้ระบบมีประสิทธิภาพในการทำงาน ล้วนแต่จะเป็นสิ่งที่เราสัมผัสได้จริงเมื่อเลือกใช้บริการแล้วครับ หรือง่ายๆ ลองโทรไปสอบถามในเวลาดึกๆ ดื่นๆ ดูครับว่าเขายินดีให้บริการเรา 24 ชม. จริงอย่างที่บอกหรือไม่แน่เราก็ควรเข้าใจนะครับว่า 24 ชม. ควรเป็นการโทรไปเพื่อแจ้งปัญหาระบบ นะครับ เพราะเวลานั้นเป็นเวลาพักผ่อนของคนเราครับ

8. นโยบายในการให้บริการ กฏข้อตกลงในการให้บริการเราควรศึกษา


ผู้ให้บริการในแต่ละที่นั้นมีสิทธิปกติโดยทั่วไปที่จะออกนโยบายในการให้ บริการกับลูกค้าของตนเพื่อให้ปฏิบัติ การใช้บริการในแนวทางที่กำหนด เราผู้จัดทำเว็บไซต์ ควรมีการศึกษาข้อมูลเหล่านี้เพื่อผลประโยชน์ ต่อผู้จัดทำเว็บไซต์เอง ควรดูว่ามีนโยบายการรับประกันความพอใจหรือไม่ เผื่อเราใช้บริการแล้วไม่ถูกใจยังขอคืนค่าบริการได้ครับ

9. ประสิทธิภาพของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ


ในส่วนนี้เราสามารถตรวจสอบข้อมูลผ่านทางด้านหน้าเว็บไซต์ หรือ สอบถามข้อมูลไปยังผู้ให้บริการด้วยครับ ประสิทธิภาพ ควรดีไม่ได้ ก็เหมือนการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ สักเครื่อง ยิ่งเครื่องแรง มีการออกแบบมาใช้งานเฉพาะก็ย่อมทำให้เรามั่นใจถึงการทำงานของระบบได้มากขึ้น

10. มาตรการการสำรองข้อมูล


นี่คือสิ่งสำคัญยิ่งครับ เพราะเว็บไซต์ ก็คือข้อมูลมหาสาร โดยเฉพาะเว็บ Community ต่างๆ อย่างเว็บบอร์ด Forums แล้วหากข้อมูลหายต้องมาเริ่มกันใหม่ คงไม่ดีแน่ เราต้องลองสอบถาม หรืออ่านรายละเอียดข้อมูลในการสำรองข้อมูลผ่านทางด้านหน้าเว็บไซต์ขึ้นครับ
ผู้ให้บริการควรมีการเปิดระบบ Backup/Restore ทางระบบจัดการเว็บไซต์ให้เราได้ใช้งาน โดยปกติ ไม่ควรอ้างทำการปิดด้วยเหตุผลว่า การทำงานส่วนนี้ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมเพราะเป็นสิ่งสำคัญครับ เราเจ้าของเว็บไซต์เอง หากรู้ว่าเราเป็นเว็บไซต์ขนาดใหญ่ ข้อมูลเยอะ เราควรทำการสำรองข้อมูล ในช่วงเวลาที่คนใช้น้อยๆ เช่นหลังเที่ยงคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ระบบทำงานไม่หนัก ทำให้ระบบสามารถสำรองข้อมูลของเราได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย

11. ข้อมูลการติดต่อ และช่องทางการติดต่อ


ส่วนนึงที่เรามองข้ามไม่ได้ก็คือ ช่องทางการติดต่อ ที่ชัดเจน ทางผู้ให้บริการควรมีข้อมูล เช่น ชื่อที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ ต่างๆ เพื่อแสดงไว้เป็นช่องทางในการติดต่อของผู้ใช้บริการ ลองคิดดูกันนะครับว่าหาก ไม่มีข้อมูลเหล่านี้แล้ว เวลาเกิดปัญหาขึ้น เว็บไซต์เราใช้งานไม่ได้เราจะติดต่อกับใคร ในหลายๆ ที่ยังมีระบบ Live Support / Live Chat ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีครับ เป็นช่องทางนึงที่ผู้ให้บริการควรเปิดให้ เป็นช่องทางการติดต่อซึ่งประหยัด และรวดเร็วกว่า

12. การจดทะเบียนพานิชย์ จดทะเบียนบริษัท ห้างร้าน


เราควรมองหาหมายเลขผู้ประกอบการ เช่น ใบอนุญาติผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ เพื่อแสดงได้ว่า อยผู้ให้บริการรายนั้นๆ มีการจดทะเบียนพานิยช์ถูกต้องตามกฎหมาย หากเกิดคดีต่างๆ เรายังสามารถติดตามผู้ให้บริการ จากหน่วยงานทางราชการ ต่างๆ ได้ครับ

13. ระบบที่ให้บริการอยู่ภายใน หรือ ภายนอกประเทศ


ส่วนนึงที่สำคัญคือ ดูว่าระบบที่เขาให้บริการเรานั้นอยู่ภายในหรือภายนอกประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียกเข้าเว็บไซต์ ของผู้ชมโดยตรงครับ ส่วนนึงเราควรดูว่า คนที่เข้าชมเว็บเรา เป็นคนภายในหรือต่างประเทศ หากเป็นคนในประเทศ เราก็ควรเลือกซื้อโฮสติ้งภายในประเทศ ซึ่งยืนยันได้เลยว่า จะส่งผลให้เว็บไซต์ ของเราเรียกข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่เสมอไปซะทีเดียวครับ เพราะวิทยาการ มีการพัฒนา ให้ระบบการนำส่งข้อมูล มีความรวดเร็ว จนแม้แต่เราเองยังเรียกเปิดชมเว็บไซต์ต่างประเทศได้รวดเร็วขึ้น (แต่ผมยังพบว่า ต่างประเทศเรียกเข้าเว็บ ที่อยู่ในประเทศไทยได้ช้า) เนื่องจากผลกระทบต่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล่าช้า และขาดประสิทธิภาพของประเทศเราครับ

13. สุดท้าย ที่สำคัญยิ่งก็คือ ราคา


เราจะเลือกซื้อบริการ สุดท้าย ท้ายสุดคือเรื่องราคาครับ โดยแต่ละที่นั้นมีการตั้งราคาค่าบริการที่แตกต่างกันไป ราคาแพงใช่ว่าบริการดีเลิศ หรือราคาถูกใช่บริการบริการยอดแย่ ทั้งนี้ราคาที่ผู้ให้บริการตั้งนั้น ส่วนใหญ่เกิดมาจากการพิจารณาต้นทุน ในด้านต่างๆ เช่นการจัดจ้างพนักงานดูแล ค่าใช้จ่ายอื่นๆ รายเดือน รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านระบบ ครับ ฉนั้นเราควรเลือกราคา และปริมาณการใช้งาน ให้เหมาะสมโดยใช่กรณี ต่างๆ ที่ได้แนะนำข้างต้น มาเป็นส่วนนึงในการตัดสินใจในการจะเช่า พื้นที่เพื่อฝากเว็บไซต์ ของเราให้สามารถทำงานได้ตลอดเวลา ตลอด 24 ชม 365 วันตลอดปีครับ

14. ผลตอบรับโดยทั่วไป


ผู้ให้บริการรายใด ที่ถูกแนะนำบอกต่อ บ่อยๆ นั้นส่วนนึง ทำให้เราพิจารณาเพิ่มได้ว่า การบริการน่าจะดี มิฉนั้นคงไม่เป็นที่บอกต่อโดย ลูกค้าของเขาหลอกใช่ไหมครับ ส่วนนี้เราลองหาจาก google เพื่อสำรวจข้อมูลการพิจารณาเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ครับ

16. หาโฮสติ้งจากที่ใดดี


เรื่องนี้ ส่วนนึงต้องลองสอบถามจากเว็บบอร์ดต่างๆ คนที่เรารู้จัก ผู้รู้หรือช่องทางอื่นๆ หรือลองสอบถามท่านที่รู้ทุกเรื่องอย่าง GooooGle ดูกันนะครับ

ฉนั้นแล้ว เราจะเลือกซื้อโฮสติ้งที่ใดสักที่นั้น คงเป็นเราที่เป็นส่วนสำคัญหลัก ในการตัดสินใจการเลือกใช้บริการ เราจะสัมผัส บริการที่จริงใจ และใส่ใจของผู้ให้บริการได้ ก็คงเป็นตอนที่เราขอเปิดใช้บริการแล้วครับ ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการนั้นจะมีการชำระค่าบริการเป็นรายปี เราจึงควรพิจารณา อย่างถี่ถ้วนในการที่จะจ่ายชำระและเลือกซื้อ ผู้ให้บริการ กรณีต่างๆ เช่นการเกิดปัญหา เราก็ควรที่จะปรึกษา ผู้ให้บริการ ก่อน หากไม่ได้รับการช่วยเหลือเราค่อยออกไป บ่นตามเว็บบอร์ด เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้และไม่หลง เข้าไปใช้บริการเหมือนกับเราครับ แต่หากเราใช้บริการแล้วประทับใจ เราก็ควรบอกต่อ เพื่อให้คนอื่นๆ มาใช้บริการ ดีดี ที่เราได้พบได้เจอ ซึ่งเป็นสัจธรรม ต่อไป....

ไอเรียลลี่โฮส
สำหรับการสนับสนุน และช่วยเหลือ
http://www.ireallyhost.com/support
ข้อกำหนดในการเผยแพร่บทความ ข่าวสาร
** บทความนี้มีลิขสิทธิ์ ไม่อนุญาติให้คัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลงก่อนได้รับอนุญาต **
โปรดระบุแหล่งที่มา บริษัท เอ็กซ์ตร้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด / https://www.ireallyhost.com
การอัพโหลดเว็บไซต์
ทั่วไป
วิธีการตั้งค่าอีเมล์ผ่านอุปกรณ์